7 สิ่ง ที่ควรทำก่อนกดดาวน์โหลดแอพฯ ทุกครั้ง เพื่อป้องกันแอพฯ ปลอม
หน้าแรกTeeNee รอบรู้ มือถือ แท๊บเลต การใช้งาน Android 7 สิ่ง ที่ควรทำก่อนกดดาวน์โหลดแอพฯ ทุกครั้ง เพื่อป้องกันแอพฯ ปลอม
ทุกวันนี้ใน App Store และ Google Play มีแอพฯ จำนวนมากให้เราเลือกดาวน์โหลดมาใช้งาน ซึ่งแอพฯ ที่จะปรากฏในสโตร์ได้ปกติก็จะผ่านการตรวจสอบแล้วว่าไม่มีปัญหา แต่ว่าในหลายๆ ครั้งมันก็ยังมีปัญหาอยู่ อาจจะมาจากการความผิดพลาดของการตรวจสอบโดยระบบ หรืออาจจะเจอแอพฯ ชื่อซ้ำกันมั่ง คล้ายกันมั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพฯ ดังๆ มักจะมีคนทำแอพฯ คล้ายๆ กันมา เพื่อหวังยอดดาวน์โหลดแบบเนียนๆ เอาเป็นว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ช่าง ทิปส์นี้เรามี 7 เทคนิคง่ายๆ ที่จะทำให้เราดาวน์โหลดแอพฯ ที่ต้องการได้ถูกต้อง ไม่ผิดเป้าหมายมาฝาก จะมีอะไรบ้างมาดูกันจ้า
1. ดาวน์โหลดแอพฯ จากเจ้าของระบบเท่านั้น !
แหล่งดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการของ iOS คือ App Store ส่วน Android จะเป็น Google Play เราควรดาวน์โหลดแอพฯ จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอพฯ จากแหล่งอื่น (จะด้วยวิธีการไหนก็ตาม) หมายถึงความเสี่ยงที่เราต้องแลกมา อาจจะได้ไฟล์แอพฯ ปลอมมา หรือไฟล์แอพฯ ของจริง แต่มีการแก้ไขแอบใส่โทรจันซ่อนเอาไว้ก็เป็นได้
1. ดาวน์โหลดแอพฯ จากเจ้าของระบบเท่านั้น !
แหล่งดาวน์โหลดอย่างเป็นทางการของ iOS คือ App Store ส่วน Android จะเป็น Google Play เราควรดาวน์โหลดแอพฯ จาก 2 แหล่งนี้เท่านั้น การติดตั้งแอพฯ จากแหล่งอื่น (จะด้วยวิธีการไหนก็ตาม) หมายถึงความเสี่ยงที่เราต้องแลกมา อาจจะได้ไฟล์แอพฯ ปลอมมา หรือไฟล์แอพฯ ของจริง แต่มีการแก้ไขแอบใส่โทรจันซ่อนเอาไว้ก็เป็นได้
2. ดูคะแนนรีวิว
การเข้าไปอ่านรีวิวของแอพฯ เป็นอีกหนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า แอพฯ นี้เป็นของจริงหรือเปล่า เพราะหากเป็นแอพฯ ปลอม มักจะมีคนเข้าไป "ด่า" เพียบเลยแหละ
การเข้าไปอ่านรีวิวของแอพฯ เป็นอีกหนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้เราตรวจสอบได้ว่า แอพฯ นี้เป็นของจริงหรือเปล่า เพราะหากเป็นแอพฯ ปลอม มักจะมีคนเข้าไป "ด่า" เพียบเลยแหละ
3. อ่านคำอธิบายแอพฯ
สำนวนแปลกๆ การสะกดคำผิดๆ เป็นสัยญาณที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ จากแอพฯ ที่พัฒนาโดยทีมงานที่มีคุณภาพ บริษัทส่วนใหญ่ที่ทำแอพฯ จะมีทีม Copywriters คอยตรวจภาษา และคำผิด เป็นการยากที่จะปล่อยให้มีข้อผิดพลาดด้านภาษาเกิดขึ้นกับคำอธิบายแอพฯ ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ
แต่อย่างไรก็ตาม แอพฯ ที่ถูกพัฒนาโดยทีมเล็กๆ อาจจะไม่ได้ซีเรียสกับเรื่องนี้มากนัก มันอาจจะอธิบายมาแบบสั้นมากๆ หรือมีคำผิด ก็ลองใช้จุดสังเกตข้ออื่นมาพิจารณาร่วมด้วยครับ
สำนวนแปลกๆ การสะกดคำผิดๆ เป็นสัยญาณที่ไม่ดีสักเท่าไหร่ จากแอพฯ ที่พัฒนาโดยทีมงานที่มีคุณภาพ บริษัทส่วนใหญ่ที่ทำแอพฯ จะมีทีม Copywriters คอยตรวจภาษา และคำผิด เป็นการยากที่จะปล่อยให้มีข้อผิดพลาดด้านภาษาเกิดขึ้นกับคำอธิบายแอพฯ ที่ถูกปล่อยออกมาอย่างเป็นทางการ
แต่อย่างไรก็ตาม แอพฯ ที่ถูกพัฒนาโดยทีมเล็กๆ อาจจะไม่ได้ซีเรียสกับเรื่องนี้มากนัก มันอาจจะอธิบายมาแบบสั้นมากๆ หรือมีคำผิด ก็ลองใช้จุดสังเกตข้ออื่นมาพิจารณาร่วมด้วยครับ
4. ดูชื่อผู้พัฒนา
เวลาเราจะดาวน์โหลดแอพฯ ด้วยการพิมพ์ชื่อค้นหา เรามักจะพบว่ามีแอพฯ ชื่อคล้ายๆ กันโผล่มาเพียบ ซึ่งการจะหาว่าแอพฯ ไหน คือ แอพฯ ที่เราต้องการ ก็จะมีงงๆ กันบ้างอย่างแน่นอน ซึ่งการเข้าไปดูชื่อผู้พัฒนาแอพฯ ก่อน ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ได้ว่า นี่เป็นแอพฯ จริง จากผู้พัฒนาแน่ๆ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับแอพฯ ยอดนิยม
เวลาเราจะดาวน์โหลดแอพฯ ด้วยการพิมพ์ชื่อค้นหา เรามักจะพบว่ามีแอพฯ ชื่อคล้ายๆ กันโผล่มาเพียบ ซึ่งการจะหาว่าแอพฯ ไหน คือ แอพฯ ที่เราต้องการ ก็จะมีงงๆ กันบ้างอย่างแน่นอน ซึ่งการเข้าไปดูชื่อผู้พัฒนาแอพฯ ก่อน ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้ได้ว่า นี่เป็นแอพฯ จริง จากผู้พัฒนาแน่ๆ วิธีนี้ใช้ได้ดีกับแอพฯ ยอดนิยม
5. กดเข้าไปดูเว็บไซต์ของผู้พัฒนา
หากเราเจอแอพฯ น่าสนใจ แต่มาจากผู้พัฒนาที่เราไม่รู้จัก ลองเอาชื่อผู้พัฒนาไป Google ดู ส่วนใหญ่ก็จะเจอรายละเอียดอยู่แล้ว หรือกดตรงลิงค์เว็บไซต์ผู้พัฒนาที่อยู่ใน App Store/Google Play โดยตรงเลยก็ได้
หากเราเจอแอพฯ น่าสนใจ แต่มาจากผู้พัฒนาที่เราไม่รู้จัก ลองเอาชื่อผู้พัฒนาไป Google ดู ส่วนใหญ่ก็จะเจอรายละเอียดอยู่แล้ว หรือกดตรงลิงค์เว็บไซต์ผู้พัฒนาที่อยู่ใน App Store/Google Play โดยตรงเลยก็ได้
6. ภาพสกรีนช็อตที่คมชัด
แอพฯ ปลอมส่วนใหญ่ มักจะเอารูปที่ขโมยมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในแอพฯ ด้วยตนเอง (แต่แฮกเกอร์บางคนก็ทำมาอย่างดี ภาพเนียนกริ๊บอยู่นะ) คุณภาพของภาพประกอบในแอพฯ ปลอมมักจะไม่คมชัดเท่าไหร่นะ ต่างจากแอพฯ แท้ ที่ส่วนใหญ่จะพยายามทำให้ภาพคมชัด สวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้
ดังนั้นหากแอพน ไหน ภาพดูเบลอๆ พิกเซลไม่ละเอียด ให้สงสัยมันไว้ก่อนเลย
แอพฯ ปลอมส่วนใหญ่ มักจะเอารูปที่ขโมยมาจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในแอพฯ ด้วยตนเอง (แต่แฮกเกอร์บางคนก็ทำมาอย่างดี ภาพเนียนกริ๊บอยู่นะ) คุณภาพของภาพประกอบในแอพฯ ปลอมมักจะไม่คมชัดเท่าไหร่นะ ต่างจากแอพฯ แท้ ที่ส่วนใหญ่จะพยายามทำให้ภาพคมชัด สวยงามที่สุดเท่าที่จะทำได้
ดังนั้นหากแอพน ไหน ภาพดูเบลอๆ พิกเซลไม่ละเอียด ให้สงสัยมันไว้ก่อนเลย
7. ดูยอดดาวน์โหลด
จำนวนครั้งที่ดาวน์โหลดก็เป็นตัวเลขสำคัญที่บ่งบอกได้ถึงความน่าเชื่อถือ ระหว่างแอพฯ ที่มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 1,000,000 ครั้งกับ 100 ครั้ง คุณจะเลือกเชื่อใจแอพฯ ไหนล่ะ?
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ใช้ได้แค่บน Android เนื่องจาก Apple ปฏิเสธที่จะแสดงยอดดาวน์โหลด
จำนวนครั้งที่ดาวน์โหลดก็เป็นตัวเลขสำคัญที่บ่งบอกได้ถึงความน่าเชื่อถือ ระหว่างแอพฯ ที่มียอดดาวน์โหลดสูงถึง 1,000,000 ครั้งกับ 100 ครั้ง คุณจะเลือกเชื่อใจแอพฯ ไหนล่ะ?
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ใช้ได้แค่บน Android เนื่องจาก Apple ปฏิเสธที่จะแสดงยอดดาวน์โหลด
Cr::: tips.thaiware.com
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น