บริษัทชิปเซ็ต ARM ประกาศระงับการทำธุรกิจกับ Huawei ทั้งหมดแล้ว
จากแถลงการณ์ทางอีเมล โฆษก ARM บอกกับ Android Authority ว่า" Arm ปฏิบัติตามกฎระเบียบล่าสุดทั้งหมดที่กำหนดโดยรัฐบาลสหรัฐฯ"แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่ได้ยืนยันการมีอยู่ในบันทึกของเจ้าหน้าที่ ARM ที่รายงานโดย BBC แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าข้อตกลงทางธุรกิจของ ARM กับ บริษัท Huawei อาจจะได้รับผลกระทบจากการคว่ำบาตรของสหรัฐอเมริกา
โดยบีบีซีระบุว่า การทำธุรกรรมและการเจรจาระหว่าง ARM และ Huawei ทั้งหมดถูกระงับไว้จากรายงานข่าวเดิมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2019, 06:09 น. ET: บริษัทด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ของตนยุติการทำข้อตกลงทางธุรกิจกับ Huawei
ผู้ผลิตชิปได้บอกให้พนักงานหยุด" สัญญาที่ใช้งานอยู่ทั้งหมด , สิทธิ์การสนับสนุนและการนัดหมายใดๆที่ค้างอยู่" กับ Huawei และ บริษัทย่อย ตามคำสั่งการคว่ำบาตรทางการค้าของสหรัฐฯในปัจจุบัน
เจ้าหน้าที่ของ ARM ยังบอกด้วยว่าพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ "มีส่วนร่วมในการอภิปรายทางเทคนิคหรือพูดคุยเรื่องทางเทคนิคกับ Huawei , HiSilicon หรือหน่วยงานอื่นๆ"แม้ว่า Huawei จะพัฒนาชิปของตัวเองขึ้นมาหลายตัว แต่ บริษัท ยังต้องใช้ใบอนุญาตของ ARM สำหรับสถาปัตยกรรมและการออกแบบบางอย่างใบอนุญาตเหล่านี้มีความสำคัญต่อการพัฒนา CPU ของสมาร์ทโฟน ซึ่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่ใช้การออกแบบของ ARM การยุติการสนับสนุนของ ARM จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสามารถของ Huawei ในการผลิตสมาร์ทโฟนและผลิตภัณฑ์มือถืออื่นๆ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ เกี่ยวกับภัยคุกคามที่นำเสนอโดยอุปกรณ์สื่อสารและผู้ผลิตต่างประเทศ ในเวลาเดียวกัน Huawei ก็ถูกจัดอยู่ใน "รายการนิติบุคคล" ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สำหรับบริษัท ที่ไม่สามารถทำธุรกิจในสหรัฐอเมริกาได้โดยได้รับอนุมัติจากรัฐบาล สหรัฐฯได้มอบการผ่อนผัน 90 วัน ให้แก่ Huawei เพื่อดำเนินธุรกิจหลักต่อไป ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัท ในสหรัฐอเมริกามีเวลาเตรียมตัวสำหรับการห้ามในวงกว้าง
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวบอกกับบีบีซีว่า เจ้าหน้าที่ ARM ได้รับคำสั่งไม่ให้เริ่มทำงานกับ Huawei หรือ บริษัทในเครืออีกครั้ง แม้ในช่วง 90 วันหลังจากนี้
Huawei ถูกกล่าวหาว่าวางตัวเป็นภัยคุกคามความปลอดภัยต่อประเทศตะวันตก เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ซึ่ง Huawei ได้ปฏิเสธการกระทำผิดกฎหมายใดๆ
โดย ARM มีหน้าที่ออกแบบชิปเซ็ตภายใต้สถาปัตยกรรม RISC ที่มีจุดเด่นคือ กินไฟน้อย ทำให้มันเหมาะจะใช้งานกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเฉพาะ สมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ที่แทบจะ 100% ใช้สถาปัตยกรรมของ ARM ทั้งสิ้น ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ ก็มี Smart Watch , Smart Device ต่างๆ และ อุปกรณ์ Network เช่น Router
ถึงจุดนี้จะทราบว่า ARM นั้นไม่ได้ผลิตชิปเซ็ตด้วยตัวเอง แต่มีหน้าที่ "พัฒนาและออกแบบ CPU" และจะถ่ายทอดองค์ความรู้ ผ่านการขายสิทธิบัตรไปยังบริษัทต่างๆ เช่น Apple , Microsoft , Samsung , Sony , Qualcomm , Texas Instruments , MediaTek และอื่นๆอีกมากมาย แน่นอนว่า "Huawei" ก็ด้วย
เพราะ Huawei นั้นมีชิปเซ็ตที่ผลิตเองในชื่อ Hisilicon Kirin ซึ่งถูกสร้างขึ้นภายใต้สถาปัตยกรรมของ ARM อันถือว่า Huawei นั้นเป็นลูกค้ารายใหญ่เลย
ทีนี้พอเกิดคำสั่งจากรัฐบาลสหรัฐฯขึ้น เท่ากับว่า ARM จะไม่มีสิทธิขายสิทธิบัตรการออกแบบชิปเซ็ต ไปให้กับทาง Huawei ผลิต แม้ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะผ่อนผันเป็นเวลา 90 วัน ก็ตาม กระนั้นก็มีเงื่อนไขว่าให้ติดต่อซื้อขายได้เฉพาะดูแลของเก่า ห้ามผลิตใหม่
หลายๆคนก็จะพูดว่า อย่าได้แคร์ ผลิตเองคิดเองก็ได้ จุดนี้ผมไม่เถียงเลยครับ Huawei เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ มีความรู้ ความสามารถทัดเทียมหรืออาจจะมากกว่าบริษัทใดๆในโลกนี้ด้วยซ้ำ เรื่องแค่นี้จิ๊บๆมาก
แล้วมันจะแย่ตรงไหนหล่ะ?มันแย่ตรงที่ หาก Huawei มีการพัฒนาออกแบบชิปเซ็ตซึ่งใช้สถาปัตยกรรมที่ตัวเองพัฒนาขึ้นมาเอง แต่ในขณะที่นักพัฒนาแอพทั้งโลกใช้ Compiler ที่อยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรม ARM ทั้งหมด
นั่นหมายความว่า หากอนาคต Huawei ใช้ชิปเซ็ตที่พัฒนาสถาปัตยกรรมขึ้นมาเองโดยไม่ใช่ ARM แอพพลิเคชั่นทั้งหมดในโลกตอนนี้ก็จะไม่รองรับในทันที รวมไปถึงตัว Huawei OS ใหม่ที่ซุ่มพัฒนามาก็ Based on ARM Technology แปลว่าต้องรื้อใหม่ทั้งหมด แล้วก็ไปเกณฑ์นักพัฒนาแอพ มาเขียนแอพใหม่ที่อยู่บนพื้นฐานของสถาปัตยกรรมที่ทาง Huawei คิดมาใหม่ ซึ่งนักพัฒนาก็ต้องมาเรียนภาษา Compiler ตัวใหม่ , ใช้เครื่องมือใหม่ ซึ่งถือเป็นงานช้างมากๆ
เรียกโดยรวมว่า มันคือการก่อร่างสร้าง EcoSystem ขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ศูนย์เลย
เหตุการณ์นี้ถ้าเกิดในประเทศจีนเพียงเเห่งเดียวมันก็ไม่ยากอะไร หากแต่ในระดับ Global ที่คนทั้งโลกใช้ นั่นคือปัญหาใหญ่
ให้เปรียบเทียบเหตุการณ์ ก็จะมองคล้ายๆกับสมัยที่ Microsoft ทำ WindowsPhone แล้วไม่มีนักพัฒนาแอพอยากเขียนแอพลงใน Windows Store เหตุเพราะมีผู้ใช้เพียงกลุ่มเดียว เขียนไปก็ขายได้ไม่คุ้มกับค่าลงทุน ไม่เหมือนเขียนให้ iOS หรือ Android ที่มีฐานผู้ใช้ทั้งโลก
แต่ไม่ได้หมายความว่า นักพัฒนาจะมองว่าทำให้ Huawei แล้วไม่คุ้มนะครับ เพียงแต่มันต้องใช้เวลาก่อรากฐานที่นานมากๆ ขั้นต่ำก็ 5 ปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นมาบ้าง
สุดท้ายเเล้ว ผมก็ไม่รู้ว่าเรื่องนี้จะจบอย่างไร อาจจะแฮปปี้เอนด์ดิ้ง หรือ อาจจะไม่ก็ได้ แต่ที่เขียนก็เพื่ออธิบายและวิเคราะห์ว่า ผลกระทบอะไรและอย่างไร จะเกิดขึ้นบ้าง หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาจริงๆ
ก็อยากจะขอเอาใจช่วยให้ Huawei ผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดีที่สุดครับ โลกเรายังต้องการผู้ผลิตที่เดินหน้านำนวัตกรรมใหม่ๆมาสู่ผู้ใช้อีกมาก Huawei เองก็เป็นแค่ "เหยื่อทางเกมส์การเมือง" ที่รับเคราะห์ครับ